วันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2553

Assignment #4 Professional Practice 53


          "Integrate Design into Nature" เป็นที่มาของชื่อบริษัท IDIN ซึ่งฟังแล้วทำให้ได้กลิ่นดินกรุ่นๆหลังฝนตก ความรู้สึกเย็นๆ ชุ่มชื้น ผ่อนคลาย และเป็นมิตร

          เป็นความรู้สึกแรกหลังจากได้ทำเข้ามาทำความรู้จักกับเว็บไซต์บริษัทที่กำลังจะเข้าไปฝึกงาน หลังจากติดต่อผ่านผู้ร่วมสนับสนุนหลายท่าน(ซึ่งต้องขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ) ก็ต้องบอกว่า เป็นคำนิยามที่รวมเอา ความรู้สึกเมื่อได้เข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ บริษัท ได้เป็นอย่างดี

          คุณ จิรเวช หงสกุล หรือ พี่เป้ กรรมการผู้จัดการบริษัท IDIN Architects ซึ่งหลายเคยน่าจะเคยได้ยินชื่อมาแล้ว ผ่านนิตยสาร ผลงานด้านสถาปัตยกรรม และงานประกวดแบบ ข้าพเจ้าก็เป็นคนนึงที่เคยได้มีโอกาสเห็นผลงานก่อนจะได้เข้ามาทำความรู้จักผ่านการฝึกงาน เนื่องจากเป็น ออฟฟิศที่มีสมาชิก 5-6 คนทำให้ทุกคนมีโอกาสได้พูดคุยทำความรู้จักกันได้ง่าย เลยได้มีโอกาสฟังเรื่องราว ความคิดเห็น ส่วนตัวของ พี่เป้ แล้วประทับใจ เลยถือโอกาสนี้ นัดสัมภาษณ์แบบจริงๆจังๆ มาฝากเพื่อนๆ กันนะคะ

คำถามแรก อยากทราบว่าอะไรเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้อยากมาเป็นสถาปนิกคะ
พี่เป้ : เป็นแรงบันดาลใจ ตั้งแต่สมัน ม. 2 ที่ไปเจอบ้านน้ำตก (Falling water house) ของ Frank Lloyd Wright   ในหนังสือ “ต่วยตูน” แล้วประทับใจมาก จนไปถามอาจารย์ว่า ถ้าอยากจะทำให้ได้แบบ เนี่ย ต้องเรียนอะไร หลังจากนั้นก็มุ่งมั่นกับการจะเป็น “สถาปนิก” เป็นอย่างมาก จนได้มาเรียนที่ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ลาดกระบัง

หลังจากเรียนจบต้องผ่านอะไรมาบ้างคะ กว่าจะมาถึงทุกวันนี้
พี่เป้ : เป็นช่วง วิกฤตการต้มยำกุ้ง พอดี งานไม่มี มีการเลย์ออฟพนักงาน รุ่นพี่สถาปนิกตกงานกันเยอะ มาก รู้ตัวเลยตั้งแต่ตอนทำ ทีสิสแล้ว ว่าไม่มีงานทำแน่ ตอนนั้นอ.ลัดดาแนะนำให้ เลยได้ไป ทำงาน กราฟฟิกอยู่ประมาณ ปีนึง หลังจากนั้นก็ไปเที่ยวดูงาน โดยเฉพาะงานของ Frank Lloyd Wright
          พอกลับมาก็เริ่มทำงานประกวดแบบกับเพื่อนจนเป็นที่รู้จัก ก่อนจะเข้าทำงานที่ PLAN Architects ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเริ่มชีวิต ความเป็น สถาปนิก แบบเต็มตัว หลังจากทำงานมา ซักพักหนึ่งแล้ว เริ่มอยากทำงานอะไรที่มีความเป็นเองมากขึ้น พอดีกับช่วงนั้นเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้น แล้ว งานเริ่มเยอะขึ้นจึงได้ออกมาเปิดเป็นสตูดิโอ จนมาเป็น IDIN Architects ในปี 2004

แนวทางการออกแบบของบริษัท
พี่เป้ : ไม่ยึดติดกับสไตล์ แต่เป็นการออกแบบโดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อม โดยตอบสนองความต้องการของ ลูกค้า พี่เป้ยกตัวอย่าง สถาปัตยกรรมเหมือนกับการทำอาหาร ไม่มีสูตรใดจะตอบสนองการทำอาหารได้ทุกชนิด ต้องขึ้นอยู่วัตถุดิบด้วย คือการคิดไปตามโจทย์ที่มี แต่เมื่องานออกมาแล้วยังไงก้ต้องมีกลิ่นของความเป็นเราอยู่ในนั้นเสมอ จากการคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาของเรา

อยากให้ช่วยคาดเดาอนาคตต่อไปของงานสถาปัตยกรรม
พี่เป้ : สมัยนี้โลกเราเป็น ยุคโลกาภิวัฒน์ เรากำลังเรียนรู้ คละข้อมูลกันอยู่ มีหลายกระแสมากๆ เช่น งาน สไตล์โฉบเฉี่ยวแบบ Zaha งานสไตล์เรียบๆ นิ่งๆ แบบงานญี่ปุ่น หรืองานสไตล์ดูไบ แต่ทั้งหมดคง ต้องตอบสนองไปในทาง Sustainable เพราะจนถึงจุดนึง “คนจมน้ำก็ต้องว่ายน้ำ” เป็นสิ่งที่ต้อง คำนึงถึงได้ด้วยตัวเองเหมือน “หิวก็ต้องกินข้าว” โดยที่ไม่จำเป็นต้องให้ใครมาบอกให้เราต้องกิน

ความแตกต่างระหว่างการเรียนกับการทำงาน
พี่เป้ : ตอนเรียนเป็นในลักษณะการวาดฝันมากกว่า แต่พอมาทำงานแล้วเนี่ยการทำออฟฟิศออกแบบ แล้วเนี่ย มีอุปสรรคด้านการเข้าใจงานของคนไทยด้วยก็อาจจะน้อยกว่าที่อื่น บางคนยังไม่เข้าใจ เลยว่าเราต่างจากผุ้รับเหมายังไง มีกลุ่มลูกค้าค่อนข้างน้อย คือ ต้องเข้าใจความแตกต่างระหว่าง Building กับ Architecture ค่อนข้างมีฐานะดี มีรสนิยมดี และต้องเลือกบริษัทหรือเลือกเราในการ ออกแบบด้วย "ต้องทำProject ที่เรามีให้มันชวนฝันให้ได้"

คุณสมบัติเฉพาะตัวที่สถาปนิกควรมี
พี่เป้ : ต้องมีความอยาก “อยากทำให้ดี” ไม่ประนีประนอมในบางเรื่อง มีความละเอียด มีอีโก้ในทางที่ดี “อยากทำให้ดี ไม่ชุ่ย” มีแรงบันดาลใจในการทำงาน

คิดยังไงกับการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม
พี่เป้ : ไม่ใช่แค่คำว่าควรทำ แต่เป็นคำว่าจำเป็น “ต้องทำ” แต่ก็สามารถตอบสนองความงาม และการใช้งานพื้นที่ตามหลักสถาปัตยกรรมที่ดีด้วย

สุดท้ายนี้ช่วยแนะนำน้องๆ ที่พึ่งเรียนจบหน่อยค่ะ
พี่เป้ : พวกเราโชคดีนะ เพราะ อยู่ในยุคที่มีความหลากหลายให้เลือกชม เลือกดูได้เยอะมาก แต่ก็อย่าง ไปทะลักข้อมูล บางทีคนเราเสพย์เยอะก็ไม่รู้ว่าเราเป็นใคร ชอบอะไร ศึกษาไว้แล้วก็หาตัวเองให้ เจอ เต็มที่กับการเรียนเพราะเป็นช่วงที่สนุกที่สุดแล้วล่ะ