วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Field Trip2

วันที่ 2

          เมื่อคืนพักกันที่จังหวัดลำปาง หลังจากไปดูเรือนแพเสร็จก็ตรงมาลำปางเลยถึงตอนดึกๆ ตื่นเช้ามาก็ได้กินข้าวซอยร้านโอมา ตรงหน้าที่พักอร่อยมาก กินอิ่มก็ออกเดินทางไปที่   "วัดไหล่หินหลวง อ. เกาะคา"


 
          วัดไหล่หินหลวง เป็นวัดที่เก่าที่สุดวัดหนึ่ง มีลักษณะปั้นลมแบบล้านนา ขอบเขตของกำแพงแก้วเตี้ยๆล้อมรอบวิหาร มีศาลาล้อมรอบวัด มีลักษณะของสัดส่วนแบบโบราณ แต่ตอนนี้มีการก่อสร้างอาคารใหม่ๆในวัดโดยไม่ได้มีการถ่ายscale คือเป็นสัดส่วนแบบใหม่เข้ามาอยู่กับโบราณสถาน ทำให้ลดคุณค่าเดิมไป
          ด้านหน้าเป็นลานทราย กับร่มของต้นโพธิ์ใหญ่ ให้บรรยากาศร่มรื่น สงบ ถัดเข้าไปเป็นสิงห์ วิหารทรงโปร่ง วิหารคดกับซุ้มประตูนำเข้าสู่ตัววิหารด้านใน แสดงให้เห็นระยะที่เหมาะสมของบริบทโดยรอบไม่เข้ามาข่มหรือเบียดตัวอาคาร เกิดความกลมกลืนกันของทั้งสองสิ่ง

          บรรยากาศภายในเมื่อเดินผ่านซุ้มประตูเข้ามา เป็นลานทรายล้อมรอบแต่มีการทำทางเดินด้านหน้านำสู่ตัววิหาร



          มีการแก้ปัญหาทางด้านโครงสร้างเพื่อให้เกิดความสวยงาม และ อารมณ์ความรู้สึก ถือเป็นงาน design ของแท้แสดงถึงภูมิปัญญาของช่างสมัยก่อนชัดเจนมาก เสาคู่หน้าพระประทานถูกตัดขื่อออก เพื่อไม่ให้บีบ space ขององค์พระ มีการตัดเสาคู่หน้าพระประทานออกเพื่อเปิด space ตรงกลาง เพื่อตอบสนอง function การเป็นพื้นที่กราบไหว้พระพุทธรูปจึงต้องการพื้นที่ค่อนข้างกว้างกว่าส่วนอื่น ส่วนเสาคู่หน้าพระประทานช่วยบีบให้พระประทานดูยิ่งใหญ่มากขึ้น มีการบีบคู่เสาเพื่อลดความกว้างของตัวหลังคาและเพิ่มความสูงของคู่เสา

"วัดพระธาตุลำปางหลวง"



          วัดพระธาตุลำปางหลวง หันหน้าไปทางทิศตะวันออกตามแบบโบราณ มีกำแพงแก้วผายออกมารับ public space เพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อกับลานโล่ง บันไดสอบเข้าเป็นระยะๆ เมื่อเข้าไปด้านในพบกับมณฑปยอดแบบล้านนา ทิศใต้เป็นส่วนของลานทรายกับต้นไม้ใหญ่

                       เมื่อเข้าไปผ่านซุ้มประตูเจอระนาบของวิหาร บังคับทิศทางการมอง



          มีการประดับลวดลายแบบพอดีๆ เน้นคุณค่าการเล่น space แบบภายใน ภายนอก กับ space ที่ปิดล้อม
          ลวดลายด้านบนประตูเป็นธรรมจักร เล่นลวดลายเครือเถาแบบล้านนา เสาวิหารขนาบจบด้วยรวงผึ้ง เน้นเส้นแกนนำสายตาสู่องค์พระประทาน

"วัดปงยางคก"


          เมื่อเข้าไปแล้วสิ่งที่เห็นเด่นชัด คือ โบสถ์ใหม่กับวิหารเก่าวิหารเจ้าแม่จามเทวีที่ค่อนข้างแตกต่างกัน วิหารเก่านั้นเป็นวิหารโถง โชว์โครงสร้าง เห็นเส้นแบ่งของกลอนกับระแนง รายละเอียดของตัวระบบโครงสร้างมีการทำลวดลายกรุทุกชิ้น space หลังคาเป็นทั้ง decorate ทั้งโครงสร้างไปพร้อมกัน ไล่ลงมาด้านล่างเป็น form ผนังเรียบเกลี้ยง ถัดลงมาอีกเป็น space ที่มี form แบบเรขาคณิต



           ต้นตาลเป็นเส้นตั้ง กับ mass ใบของต้นโพธิ์ที่มีความละเอียด เกิดความ contrast กัน


"บ้านไม้วันนี้"


      
          มีการใช้งาน space ใต้ถุนตามลักษณะของเรือนไทยโบราณ เมื่อเข้าไปภายในก็มีการจัดเฟอร์นิเจอร์ตามการใช้งานจริง ส่วนของครัวอยู่ด้านหลังแยกออกจากตัวบ้านโดยการเปิดผนังออกเพื่อการระบายอากาศ


          บันไดเข้าบ้านแบ่งเป็น 2 ทาง คือ ทางด้านหน้าเข้ามาเจอกับห้องรับแขก อีกทางเข้าไปเจอกับบริเวณนั่งเล่นสำหรับครอบครัว ส่วนห้องนอนอยู่ลึกตามลำดับการเข้าถึงของทั้ง 2 ทาง  ส่วนของห้องน้ำแยกออกมาจากตัวบ้านเป็นโครงสร้างแบบก่ออิฐ บ้านไม้หลังนี้เข้าไปแล้วได้บรรยากาศของการอยู่อาศัยมาก มีการเล่นระดับค่อนข้างมากเพื่อเปลี่ยนความรู้สึก ตามพื้นที่การใช้งานจริง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น