วันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2553

Assignment #4 Professional Practice 53


          "Integrate Design into Nature" เป็นที่มาของชื่อบริษัท IDIN ซึ่งฟังแล้วทำให้ได้กลิ่นดินกรุ่นๆหลังฝนตก ความรู้สึกเย็นๆ ชุ่มชื้น ผ่อนคลาย และเป็นมิตร

          เป็นความรู้สึกแรกหลังจากได้ทำเข้ามาทำความรู้จักกับเว็บไซต์บริษัทที่กำลังจะเข้าไปฝึกงาน หลังจากติดต่อผ่านผู้ร่วมสนับสนุนหลายท่าน(ซึ่งต้องขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ) ก็ต้องบอกว่า เป็นคำนิยามที่รวมเอา ความรู้สึกเมื่อได้เข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ บริษัท ได้เป็นอย่างดี

          คุณ จิรเวช หงสกุล หรือ พี่เป้ กรรมการผู้จัดการบริษัท IDIN Architects ซึ่งหลายเคยน่าจะเคยได้ยินชื่อมาแล้ว ผ่านนิตยสาร ผลงานด้านสถาปัตยกรรม และงานประกวดแบบ ข้าพเจ้าก็เป็นคนนึงที่เคยได้มีโอกาสเห็นผลงานก่อนจะได้เข้ามาทำความรู้จักผ่านการฝึกงาน เนื่องจากเป็น ออฟฟิศที่มีสมาชิก 5-6 คนทำให้ทุกคนมีโอกาสได้พูดคุยทำความรู้จักกันได้ง่าย เลยได้มีโอกาสฟังเรื่องราว ความคิดเห็น ส่วนตัวของ พี่เป้ แล้วประทับใจ เลยถือโอกาสนี้ นัดสัมภาษณ์แบบจริงๆจังๆ มาฝากเพื่อนๆ กันนะคะ

คำถามแรก อยากทราบว่าอะไรเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้อยากมาเป็นสถาปนิกคะ
พี่เป้ : เป็นแรงบันดาลใจ ตั้งแต่สมัน ม. 2 ที่ไปเจอบ้านน้ำตก (Falling water house) ของ Frank Lloyd Wright   ในหนังสือ “ต่วยตูน” แล้วประทับใจมาก จนไปถามอาจารย์ว่า ถ้าอยากจะทำให้ได้แบบ เนี่ย ต้องเรียนอะไร หลังจากนั้นก็มุ่งมั่นกับการจะเป็น “สถาปนิก” เป็นอย่างมาก จนได้มาเรียนที่ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ลาดกระบัง

หลังจากเรียนจบต้องผ่านอะไรมาบ้างคะ กว่าจะมาถึงทุกวันนี้
พี่เป้ : เป็นช่วง วิกฤตการต้มยำกุ้ง พอดี งานไม่มี มีการเลย์ออฟพนักงาน รุ่นพี่สถาปนิกตกงานกันเยอะ มาก รู้ตัวเลยตั้งแต่ตอนทำ ทีสิสแล้ว ว่าไม่มีงานทำแน่ ตอนนั้นอ.ลัดดาแนะนำให้ เลยได้ไป ทำงาน กราฟฟิกอยู่ประมาณ ปีนึง หลังจากนั้นก็ไปเที่ยวดูงาน โดยเฉพาะงานของ Frank Lloyd Wright
          พอกลับมาก็เริ่มทำงานประกวดแบบกับเพื่อนจนเป็นที่รู้จัก ก่อนจะเข้าทำงานที่ PLAN Architects ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเริ่มชีวิต ความเป็น สถาปนิก แบบเต็มตัว หลังจากทำงานมา ซักพักหนึ่งแล้ว เริ่มอยากทำงานอะไรที่มีความเป็นเองมากขึ้น พอดีกับช่วงนั้นเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้น แล้ว งานเริ่มเยอะขึ้นจึงได้ออกมาเปิดเป็นสตูดิโอ จนมาเป็น IDIN Architects ในปี 2004

แนวทางการออกแบบของบริษัท
พี่เป้ : ไม่ยึดติดกับสไตล์ แต่เป็นการออกแบบโดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อม โดยตอบสนองความต้องการของ ลูกค้า พี่เป้ยกตัวอย่าง สถาปัตยกรรมเหมือนกับการทำอาหาร ไม่มีสูตรใดจะตอบสนองการทำอาหารได้ทุกชนิด ต้องขึ้นอยู่วัตถุดิบด้วย คือการคิดไปตามโจทย์ที่มี แต่เมื่องานออกมาแล้วยังไงก้ต้องมีกลิ่นของความเป็นเราอยู่ในนั้นเสมอ จากการคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาของเรา

อยากให้ช่วยคาดเดาอนาคตต่อไปของงานสถาปัตยกรรม
พี่เป้ : สมัยนี้โลกเราเป็น ยุคโลกาภิวัฒน์ เรากำลังเรียนรู้ คละข้อมูลกันอยู่ มีหลายกระแสมากๆ เช่น งาน สไตล์โฉบเฉี่ยวแบบ Zaha งานสไตล์เรียบๆ นิ่งๆ แบบงานญี่ปุ่น หรืองานสไตล์ดูไบ แต่ทั้งหมดคง ต้องตอบสนองไปในทาง Sustainable เพราะจนถึงจุดนึง “คนจมน้ำก็ต้องว่ายน้ำ” เป็นสิ่งที่ต้อง คำนึงถึงได้ด้วยตัวเองเหมือน “หิวก็ต้องกินข้าว” โดยที่ไม่จำเป็นต้องให้ใครมาบอกให้เราต้องกิน

ความแตกต่างระหว่างการเรียนกับการทำงาน
พี่เป้ : ตอนเรียนเป็นในลักษณะการวาดฝันมากกว่า แต่พอมาทำงานแล้วเนี่ยการทำออฟฟิศออกแบบ แล้วเนี่ย มีอุปสรรคด้านการเข้าใจงานของคนไทยด้วยก็อาจจะน้อยกว่าที่อื่น บางคนยังไม่เข้าใจ เลยว่าเราต่างจากผุ้รับเหมายังไง มีกลุ่มลูกค้าค่อนข้างน้อย คือ ต้องเข้าใจความแตกต่างระหว่าง Building กับ Architecture ค่อนข้างมีฐานะดี มีรสนิยมดี และต้องเลือกบริษัทหรือเลือกเราในการ ออกแบบด้วย "ต้องทำProject ที่เรามีให้มันชวนฝันให้ได้"

คุณสมบัติเฉพาะตัวที่สถาปนิกควรมี
พี่เป้ : ต้องมีความอยาก “อยากทำให้ดี” ไม่ประนีประนอมในบางเรื่อง มีความละเอียด มีอีโก้ในทางที่ดี “อยากทำให้ดี ไม่ชุ่ย” มีแรงบันดาลใจในการทำงาน

คิดยังไงกับการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม
พี่เป้ : ไม่ใช่แค่คำว่าควรทำ แต่เป็นคำว่าจำเป็น “ต้องทำ” แต่ก็สามารถตอบสนองความงาม และการใช้งานพื้นที่ตามหลักสถาปัตยกรรมที่ดีด้วย

สุดท้ายนี้ช่วยแนะนำน้องๆ ที่พึ่งเรียนจบหน่อยค่ะ
พี่เป้ : พวกเราโชคดีนะ เพราะ อยู่ในยุคที่มีความหลากหลายให้เลือกชม เลือกดูได้เยอะมาก แต่ก็อย่าง ไปทะลักข้อมูล บางทีคนเราเสพย์เยอะก็ไม่รู้ว่าเราเป็นใคร ชอบอะไร ศึกษาไว้แล้วก็หาตัวเองให้ เจอ เต็มที่กับการเรียนเพราะเป็นช่วงที่สนุกที่สุดแล้วล่ะ


วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

Assignment #3___Professional Practice 53

"ศาสตราจารย์ พลเรือตรีสมภพ ภิรมย์ ร.น. "


          "ในโลกนี้ไม่มีอะไรดีกว่าการให้  การให้ที่ยิ่งใหญ่คือการให้อภัย"  จากทัศนคติในการดำเนินชีวิตของท่านนั้น  สามารถสะท้อนความเป็นตัวตนออกมาให้เห็นไม่ว่าจะเป็นผลงานทางด้านสถาปัตยกรรม ซึ่งเน้นการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมไทย  ผลงานทางด้านงานวิจัย  งานแต่งหนังสือ  และความคิดริเริ่มในการจัดตั้งโครงการที่มีประโยชน์ต่างๆมากมาย  สามารถถ่ายทอดให้ได้เรียนรู้ จุดประกายให้เกิดแนวคิดใหม่ๆ  อย่างหลากหลายและรอบด้าน  สังเกตได้จากผลงานของท่านจะสามารถทราบได้ว่า ศาสตราจารย์  พลเรือตรีสมภพ  ภิรมย์  ร.น. นั้นเป็นบุคคลซึ่งมีความรู้และความคิดกว้างไกลสมกับเกียรติคุณด้านต่างๆ ที่ท่านได้รับจริงๆ

          ศาสตราจารย์ พลเรือตรีสมภพ ภิรมย์ ร.น. ราชบัณฑิต ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรม)    อีกทั้งยังเป็นสถาปนิกอาวุโสที่มีผลงานดีเด่น เป็นที่ยอมรับทั่วไปได้สร้างสรรค์ผลงานทั้งในแบบปัจจุบันและแบบประเพณี
          ผลงานสถาปัตยกรรมที่สำคัญของท่าน เช่น พระตำหนักสมเด็จพระภคินีเธอเจ้าฟ้าเพ็ชร์รัตน์ราชสุดา ในสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โรงเรียนเตรียมทหาร ถนนพระราม ๔ เป็นต้น เคยได้รับรางวัลที่ ๑ จากการประกวดออกแบบโรงแรมเอราวัณ และได้รางวัลที่ ๒ จากการประกวดแบบบ้านทรงไทยของสภาวัฒนธรรมหญิง
          ส่วนในด้านวิชาการนั้น เป็นศาสตราจารย์และคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เคยเป็นอธิบดีกรมศิลปากร เป็นผู้ริเริ่มโครงการก่อตั้งหอศิลป์แห่งชาติ ได้รับปริญญาดุษฎีกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อพุทธศักราช ๒๕๒๓ เป็นผลงานที่เป็นสถาปัตยกรรมวิชาการบัณฑิตและงานอื่นๆ ในด้านศิลปวัฒนธรรมนั้นล้วนเป็นงานบริการชุมชน มีผลงานเขียนหนังสือ เช่น   กุฎาคาร   บ้านไทยกลาง ผลงานของอาจารย์พระเทวาภินิมิตร (ฉาย เทียมสินชัย) และเป็นประธานกรรมการพจนานุกรมศัพท์ศิลปกรรม และพิจารณาบัญญัติศัพท์ศิลปะภาษาอังกฤษเป็นไทย และเป็นประธานคณะบรรณาธิการสารานุกรมดนตรีไทย
          ศาสตราจารย์ พลเรือตรี สมภพ ภิรมย์ ร.น. จึงได้รับยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขา ทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรม) ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๒๙


ชีวประวัติ
          ศาสตราจารย์ พลเรือตรีสมภพ  ภิรมย์  ร.น.  เกิดเมื่อวันที่ 26 กรกฏาคม พ.ศ. 2459  ปีมะโรง  ที่บ้านปากซอยวัดระฆัง บ้านขมิ้น ธนบุรี เป็นบุตรของ นาวาโทหลวงบรรเจิดเรขะกรรม (ชม ภิรมย์) ซึ่งรับราชการเป็นนายช่างนวกรรมกรมยุทธโยธาทหารเรือ มารดาชื่อนางใหญ่ ในด้านชีวิตครอบครัวท่านสมรสกับ นางจุนเจือ เมื่อปีพ.ศ.๒๔๙๗ มีบุตร ๓ คน และปีพ.ศ.๒๔๙๘ ได้สมรสอีกครั้งกับนางประเทือง มีธิดา ๑ คน
          ในวัยเยาว์ได้รับการศึกษาชั้นต้นจาก โรงเรียนสตรีวีดระฆัง  และเรียนภาคค่ำที่โณงเรียนวัดบวรนิเวศวิหารจนจบชั้นมัธยมศึกษา  สำเร็จการศึกษาสถาปัตยกรรมศาสตร์ จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยทุนกองทัพเรือ ผ่านการรับราชการที่ กองทัพเรือ และกองบัญชาการทหารสูงสุด ก่อนเข้าเป็น ข้าราชการพลเรือนในสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย และกระทรวงศึกษาธิการ กระทั่งเกษียณอายุราชการในตำแหน่ง อธิบดีกรมศิลปากร หลังเกษียณอายุราชการแล้วหลายปี ศ.พล.ร.ต.สมภพ ในวัย 77 ปียังรับตำแหน่งเป็น คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม อยู่ถึง 4 ปี

ประวัติด้านการศึกษา
          ในสมัยเด็กนั้นท่านไม่ค่อยชอบเรียนหนังสือ และเป็นเด็กค่อนข้างเกเร  เมื่อเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนสตรีวัดระฆังแล้วก็หยุดเรียนไปเป็นเวลา 6 ปี ก่อนจะเข้ามาเรียนภาคค่ำที่โรงเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร และเรียนภาษาอังกฤษในเวลากลางคืนด้วย
          ศาสตาจารย์สมภพ เริ่มเรียนวิชาศิลปะครั้งแรกที่กรมยุทธโยธาทหารเรือ โดยบิดานำไปฝากให้ฝึกเป็นช่าง  ครูคนแรกที่สอนท่านเขียนแบบ คือ บิดาของท่านเอง   ซึ่งต่อมาได้ไปเรียนการเขียนลายไทย  การปั้นและแกะสลัก  จากนาวาตรีหลวงวัฒนประดิษฐ์ พร้อมกับเรียนมัธยม 7 และ 8 ควบคู่กันไป
          พ.ศ. 2479       เรียนจบมัธยมศึกษาปีที่ 8 และสอบเข้าเรียนที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
          พ.ศ. 2484       เรียนจบปริญญาตรีทางสถาปัตยกรรม  คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  และได้ศึกษาวิชาสถาปัตยกรรมกับอาจารย์อื่นๆ อีกหลายท่าน  เช่น  อาจารย์ศิววงศ์  กุญชร ณ อยุธยา  นายบุญช่วย  อุจรัตน์  หม่อมเจ้าโวฒยากร  วรวรรณ  นายนารถ  โพธิประสาท  ผู้ริเริ่มการสอนสถาปัตยกรรมของไทย  ขุนจงนิมิตร  หลวงปริญญาโยควิบูลย์  และนายจูเชียง  คอปเป้
          พ.ศ. 2506       ได้รับประกาศนียบัตรจากโรงเรียนเสนาธิการทหารอากาศรุ่น ๖
          พ.ศ. 2507       ได้รับประกาศนียบัตรจากโรงเรียนส่งกำลังบำรุงทหารบกรุ่น ๗
          พ.ศ. 2509       ได้รับประกาศนียบัตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร รุ่น ๙


ประวัติการทำงาน
          ท่านเข้ารับราชการเป็น สถาปนิก  ที่กรมยุทธโยธาทหารเรือ หรือกรมอู่ทหารเรือในปัจจุบัน  ต่อมาในปี พ.ศ. 2500  จอมพลเรือหลวงยุทธศาสตร์  ส่งท่านไปดูงานรอบโลก แต่ต้องกลับมาเพราะเกิดการปฏิวัติและถูกส่งตัวไปสัตหีบ  ต่อมาได้ย้ายไปประจำที่ กองบัญชาการทหารสูงสุด เป็นทหารเรือประจำกองนโยบายและแผน กรมบำรุงทหารเรือ  จากนั้นก็ได้เลื่อนขั้นเป็น หัวหน้าทหารติดต่อ โอ.ไอ.ซี.ซี.  และเป็นนายทหารเสนาธิการในเวลาต่อมา
พ.ศ. 2507       ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 
พ.ศ. 2510       เข้ารับตำแหน่ง นายกสมาคมสถาปนิกสยาม
พ.ศ. 2515       ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากรและได้ลาออกก่อนเกษียณอายุราชการ ในปีพ.ศ. 2519
พ.ศ. 2516       ทำงานส่วนตัว  และได้รับแต่งตั้งเป็นราชบัณฑิต
พ.ศ. 2536       ดำรงตำแหน่งคณบดีมหาวิทยาลัยศรีปทุม

          ศาสตราจารย์ พลเรือตรีสมภพ  ภิรมย์  ร.น. นั้นเป็นสถาปนิกที่มีบทบาทในด้านสถาปัตยกรรมเป็นอย่างมาก  เมื่อได้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมศิลปากรก็ได้ริเริ่มโครงการที่ดีหลายโครงการ เช่น โครงการหอศิลป์แห่งชาติ

ผลงานในอาชีพสถาปนิก
บ้านนายประมุข สุวรรณศิลป์  สุขุมวิทซอย 2
-  บ้านนายพิศาล รัตตกุล (นายห้างเยาวราช) ซอยหลังสวน เพลินจิต


บ้านนาน พิศาล รัตตกุล
-  บ้านนายวิชัย มาลีนนท์ (เจ้าของโทรทัศน์ช่อง 3)  ซอยบ้านกล้วยใต้ สุขุมวิท 40 -  อาคารธนาคารกรุงไทย กระทรวงการคลัง (เดิมเป็นของนายสุริยน ไรวา)  ถนนพระรามที่ 1
-  คลังสินค้าของนายสุริยน ไรวา ธนบุรี
-  อาคารพิธานพานิช  ถนนสุรวงศ์
-  อาคารกองบัญชาการกองทัพเรือ

อาคารกองบัญชาการ กองทะพเรือ

-  โรงเรียนเตรียมทหาร  ถนนพระราม 4

โรงเรียนเตรียมทหาร
-  พระตำหนักสมเด็จพระภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว    ซอยสันติสุข สุขุวิท
-  ออกแบบพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (แบบแรกเริ่ม)
-  ออกแบบอนุสาวรีย์ทหารวีรชน  ค่ายเฟรนชิฟ จังหวัดนครราชสีมา
-  เจดีย์วัดอนาลโย จังหวัดพะเยา

เจดีย์วัดอนาลโย

ผลงานด้านงานวิจัยและหนังสือ
- เอกสารวิจัยเรื่องการศึกษาประเทศไทย วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) พ.ศ.2510
- อาชีวะสัมพันธ์การประกอบอาชีพสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. 2512
- กุฎาคาร ทุนงานวิจัยของสภาวิจัยแห่งชาติ พ.ศ.2513
- ประตูมุขไทยของโลก พ.ศ.2513
- บ้านไทยภาคกลาง ชุดความรู้ไทยขององค์การค้าคุรุสภา พ.ศ.2519

- เมรุ พระเมรุมาศ สมัยรัตนโกสินทร์ ทุนงานวิจัยของสภาวิจัยแห่งชาติ พ.ศ.2520

- นารายณ์สิบปาง เมืองโบราณจัดพิมพ์ พ.ศ.2520
- เรื่องพระราชพิธีพยุหยาตราชลมาค พ.ศ.2526
- สามก๊กฉบับเสนาธิการ ได้รับรางวัลจากสมาคมนักเขียน
- บทอัศจรรย์ในวรรณคดี ลงในจามจุรี (จุฬาฯ)
- พจนานุกรมศัพท์ศิลปะอังกฤษ-ไทย ราชบัณฑิตสถานจัดพิมพ์
- สารานุกรมศัพท์ดนตรีไทย ภาคประวัติและบทร้องเพลงเถา ราชบัณฑิตยสถาน จัดพิมพ์
- สารานุกรมศัพท์ดนตรีไทย ภาคคีตะ-ดุริยางค์ ราชบัณฑิตยสถาน จัดพิมพ์
- ร.3 อัครมหาราชสถาปนิกแห่งกรุงสยาม บริษัทนิพนธ์จัดพิมพ์
- สถาปัตยกรรมกลาโหม เมืองโบราณจัดพิมพ์
- ศิลปะ ศิลปะ สบาย สบาย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม จัดพิมพ์ พ.ศ. 2539
- ลายไทยพระเทวาภินิมิต องค์การค้าของคุรุสภาจัดพิมพ์
- ปรมัตสถาปัตยกรรมไทย ราชบัณฑิตยสาร
- ฝันที่ราชบัณฑิตยสภา ราชบัณฑิตยสาร
- ศิลปกรรมปริทัศน์ สำนักศิลปกรรม
- สถาปัตยกรรมนำการเมือง ใน ร.2
- ภูมิรัฐศาสตร์ สมัน ร.3 ธนาคารทหารไทยจัดพิมพ์
- สถาปัตยกรรมพุทธเจดีย์สยาม งานศพคุณพ่อ น.ท. หลวงบรรเจิด เรขกรรม (ชม ภิรมย์)
- เพลงไทย 1,200 เพลง 50 ปี ราชบัณฑิตยสถานจัดพิมพ์
- ศิลปสถาปัตยกรรมดลใจกวี
- สุนทรภู่กับสถาปัตยกรรม
- Symphony ของโลก
- มหาปราสาทสมัยกรุงศรีอยุธยา
- ความกตัญญู-ตึกกระจอก-ถนนขนาบแม่น้ำเจ้าพระยา
- บทความใน ต่วย-ตูน
- บ้านไทยสี่ภาค บริษัทเงินทุนร่วมฉลองกาญจนาภิเษก
- บทความในรัฐสภาสาร นาวิกศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม มติชน สยามรัฐ
- เวียง วัง วัด เวิ้ง
- โคลนแสดงความกตัญญู อาจารย์นารถ โพธิ์ประสาท และอาจารย์อีกหลายท่าน

งานริเริ่ม
- เปลี่ยนชื่อคณะสถาปัตยกรรมไทย เป็นคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
- ริเริ่มงานโบราณคดีใต้น้ำของกรมศิลปากร
- ก่อตั้งหอศิลป์แห่งชาติ กรมศิลปากร
- ริเริ่ม ซื้อภาพจิตรกรรมร่วมสมัยให้กรมศิลปากร
- ตั้งชื่อ “สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า”
- ริเริ่มประกวดการอ่านทำนองเสนาะของกรมศิลปากร
- ริเริ่ม เปิดการแสดงมหาดุริยางค์ไทย (ดนตรีไทย 200 คน แบบซิมโฟนี)
- ริเริ่ม อัดเทปการบรรเลงเพลงไทย โดยบรมครูเพลงไทย
- ริเริ่มทไวไลท์คอนเสิร์ต (สนธยา ดุริยางค์) กรมศิลปากร
- ริเริ่มการศึกษาสถาปัตยกรรมไทย ในบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร
- ริเริ่มสร้างตึกคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร


เกียรติคุณ
พ.ศ. 2510        ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์
พ.ศ. 2523        ได้รับปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตร์ดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยศิลปากร    ประจำปี 2522
พ.ศ. 2529        ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรม)
พ.ศ. 2537        ได้รับการยกย่องเป็นสถาปนิกดีเด่น จากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์
พ.ศ. 2538        ได้รับการยกย่องเป็นปูชนียบุคคลดีเด่นทางด้านสถาปัตยกรรมไทย ประจำปี 2538 จากคณะกรรมการวันอนุรักษ์มรดกไทย
พ.ศ. 2539        ปูชนียบุคคลด้านสถาปัตยกรรมไทย

วันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2553

Field Trip9

วันที่ 9

"วัดราชบูรณะ"



          พระอุโบสถก่ออิฐถือปูน หันหน้าไปทางทิศตะวันออก มีทางเข้าออกด้านหน้าและด้านหลัง 2 ประตู อยู่บริเวณมุมของพระอุโบสถ


ภาพจิตรกรรมภายในวาดลวดลายเป็นเรื่องรามเกียรติ์

"วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร"




   





     เข้าถึงด้านในองค์พระ มีการจัดผังพระพุทธรูปที่รายล้อมอยู่รอบๆให้หันหน้าออก 4 ทิศ คำนึงถึงการเข้าสู่ภายใน












Field Trip8

วันที่ 8

"อำเภอกงไกรลาส"

          แสดงให้เห็นลักษณะของ ห้องแถวหรืออาคารพาณิชย์สมัยก่อน เป็นแหล่งคนจีน 90 เปอร์เซ็นต์ย้ายมาจากเมืองเพชรบุรี ทำการค้าขาย ทำนา จับปลา ถนนมีการทำถนนคนเดินแยกกับทางล้อ ต่างกันที่ความกว้างของถนน



          เกล็ดไม้นำมาใช้ปิดผนังทางด้านหน้า นอกจากจะทำให้เกิด pattern ที่สวยงามทางด้านหน้าแล้วยังช่วยระบายอากาศและเป็นช่องแสงขณะปิดประตูด้วย


                               ห้องครัว ใช้ผนังเปิดโล่งถ่ายเทอากาศแต่สามารถกั้น space ได้ด้วย



"สนามบินสุโขทัย"



          มีการออกแบบโดยนำเอาความเป็นเอกลักษณ์ของสุโขทัยแบบดั้งเดิมมาผสมรวมกับการออกแบบอาคารสมัยใหม่ บริเวณทางเข้าเป็น ศาลา ระเบียบโครงสร้างเป็น กลอน ระแนง ไม่ตีฝ้าเพดาน โถงคอนกรีตรับหลังคามุงกระเบื้อง บริเวณแวดล้อมlandscape แบบไทย อาคารส่วนใหญ่ก่ออิฐไม่ฉาบปูน


                รอบนอกมีการฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่น ทำนา ปลูกข้าว เลี้ยงควาย ปลูกกล้วยไม้


"โรงแรมสุโขทัย เฮอริเทจ รีสอร์ท"

          ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกันกับสนามบินสุโขทัย ตกแต่งในบรรยากาศของการนำอัตลักษณ์ของสุโขทัยดั้งเดิมมาประยุกต์ให้เกิดอารมณ์แบบร่วมสมัย



มีการนำระเบียบการเจาะช่องเปิดมาใช้

บรรยากาศภายในบริเวณที่พัก นำการกำหนดขอบเขเขตลักษณะในลักษณะของ เสาประทีป มาใช้


ลักษณะการนำมาประยุกต์ใช้ที่ดูน่าสนใจ

Field Trip7

วันที่ 7

"อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย"

          ตั้งอยู่บนชัยภูมิที่มีภูเขาครึ่งเมือง เป็นแหลม เจดีย์หลักเป็นพระปรางค์ แปลกไปกว่าปกติเนื่องจาก เจดีย์ของลังกาจะเป็นทรงพุ่มข้าวบิณฑ์


          วางเส้นแกนในลักษณะสมมาตร เกิดความสง่างาม บึกบึน ในลักษณะของศิลปะตระกูลนครวัดเนื่องจากอยุธยาได้รับอิทธิพลจากขอมค่อนข้างมาก ระเบียบการวางศิลาแลงกับการเจาะช่องเปิดมีความน่าสนใจ มีกำแพงและทางเดินรอบวิหาร 3 ชั้น แยกกันตามชนชั้นเป็น ชาวบ้าน หรือ พระสงฆ์ มีการวางพระหล่อโลหะตามระเบียง กำแพงเป็นศิลาแลง สันนิษฐานว่าสมัยก่อนน่าจะเป็นท่อนซุง



ทางเดินวิหาร แบ่งเป็นชั้นแยกตามสถานะทางสังคม


เสาประทีป ประดับลายปูนปั้น

พระพุทธรูปปางลีลา  แกะสลักแบบนูนสูง ลักษณะเหมือนกำลังเดินและยิ้ม

ลวดลายปูน เลียนแบบลูกฟักของโครงสร้างไม้
"วัดกุฎีราย"
         
          ก่อสร้างด้วยศิลาแลงรวมไปถึงหลังคาด้วย กุฏีทั้งสองต่อเนื่องกันด้วยวิหารโถง ประกอบด้วยมณฑป 2 หลัง


Field Trip6

วันที่ 6

     เมืองลับแล จังหวัด อุตรดิตถ์ บ้านไม้โบราณมีการใช้งาน ทำให้เกิดเสน่ห์จากการใช้งานนั้น

         
          วัสดุแต่ละชนิด ทำให้เกิดระนาบกับ texture ที่แตกต่างกันทำให้เกิดลักษณะของการจัดวางที่สวยงามได้


"วัดดอนสัก"

          ตัววิหารมีจุดเด่นที่หน้าจั่วและบานประตูไม้แกะสลัก ตั้งแต่สมัยอยุธยา มีการก่ออิฐเสริมความงดงาม ฝ้าเพดานเปิดโล่ง ประตูบานใหญ่เพื่อให้แสงเข้าแบบพอดีๆ ถ้าประตูไม่เปิดสัดส่วนจะไม่สมบูรณ์


          ลวดลายแกะสลักช่วยเสริมสัดส่วนของตัวอาคารได้ เกิดความสัมพันธ์กันทั้งลวดลายและองค์ประกอบอื่นๆ หมู่บ้านข้างๆวัดเป็นสวนผลไม้ มีความอุดมสมบูรณ์ของลำน้ำ สวน และบ้านเรือน


วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Field Trip5

วันที่ 5
 
          เริ่มต้นเช้าวันใหม่กันที่ จ.สุโขทัย กับ "ข้าวเหนียวหมูห่อใบตอง"


"สรีดภงส์ หรือ ทำนบพระร่วง"



          เป็นทำนบที่ทำขึ้นเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ มีท่อดินเผาใหญ่ต่อจากเขื่อนไปที่ตะพัง (เก็บน้ำ) ทำให้มีน้ำใช้ตลอดปี


"อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย"

วัดมังกร

          ส่วนกลางเป็นเจดีย์ทรงกลมแบบลังกาขนาดใหญ่ ก่อด้วยศิลาแลงและอิฐโดยรอบ ประดับด้วยเครื่องสังคโลก ฐานขอบอาคารที่เหลือแสดงขอบเขต ตำแหน่งให้สันนิษฐานรูปลักษณะที่สมบูรณ์กันต่อไป




วัดมหาธาตุ

          เป็นวัดประจำแผ่นดินของพระเจ้าอยู่หัว วิหารหลวง มีเจดีย์บริวาร 8 องค์ ตามมุม 4 ด้านข้าง 4 ยอดทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ศรีวิชัย และ ทรงพระปรางค์
          มีบ่อน้ำด้านหน้า เกิดเงาสะท้อนสวยงาม มีการเข้าถึงไล่ระดับจาก บ่อน้ำด้านหน้า กำแพงแก้ว วิหารราย ไปจนถึงวิหารประทานเชื่อมกับเจดีย์ประทานด้านใน








"วัดพระพรายหลวง"

          มีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงพระปรางค์ ซ้อนชั้นจนถึงชั้นบนสุดเป็นดอกบัว แสดงถึงความจริงแท้ ก่อสร้างโดยช่างจากนครวัด นครธม ด้วยศิลาแลง การตกแต่งเป็นคติความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ ลวดลายเทพเจ้าต่างๆ
 



"วัดศรีชุม"

          เมื่อเข้ามาในวัดจะเกิดคำถามที่ว่า หลังคาของวัดศรีชุมเป็นอย่างไร แต่ตัวมณฑปมีลักษณะก่อกำแพงหนา บนกำแพงมีเพดานหินจำหลักจารึกพระเจ้า 500 ชาติ มีทางเดินสามารถเดินไปจนถึงยอดเจดีย์ได้ ด้านข้างมีต้นมะม่วง 6-7 ร้อยปี เป็นตัวเสริมเติมเสน่ห์และความศักดิ์สิทธ์ให้กับตัวโบราณสถาน



บรรยากาศภายในให้ความรู้สึกน่าเกรงขาม มีช่องระบายอากาศสำหรับทางเดินด้านใน


"วัดศรีสวาย"

          เป็นเจดีย์ทรงปราสาทสามองค์คล้ายลักษณะปราสาทแบบขอม วัสดุเป็นศิลาแลง ล้อมเทวสถาน เส้นแกนหันไปทางทิศเหนือ ตัวอาคารก่ออิฐ มีโถงมุกด้านหน้า เป็นโบราณสถานเปลือยเปล่าก่ออิฐเล็กใหญ่สลับกับศิลาแลง มีการเรียงอิฐหลายขนาด ลำดับการเข้าถึงตั้งแต่กำแพงเตี้ย ระยะซุ้มประตู กับศาสนสถานหรือพระปรางค์






"บ้านไม้วันนี้"





         บ้านไม้หลังนี้ ประทับใจตรงความมีระเบียบของ ช่องเปิด แต่เนื่องจากเป็นงานที่ชาวบ้านสร้างเองจึงทำให้ความเป็นระเบียบนั้น ไม่แข็งจนเกินไป


          ส่วนหลังนี้ อาจารย์จิ๋ว บอกว่าให้ดูที่ความต่อเนื่องของ space  เนื่องจากบ้านไม่มีประตูที่ชัดเจน จึงเห็นบรรยากาศเชื่อมต่อตั้งแต่ พื้นที่นั่งเล่นหน้าบ้านเข้า ยกระดับเข้าไปที่ส่วนโถงด้านใน